Saturday, May 28, 2011

แบบบ้านหลากไสตล์4


เรียบง่ายสไตล์ ฮาวาย เน้นความโล่งสบายมุขททางเข้าบ้านที่ดูรื่นรมย์รับกับสวนภายนอกระเบียงรับลม เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของบ้านฮาวาย นอกเหนือจากเสียงคลื่นและสายลมที่น่าพิศมัย





โมเดิร์น ไมอามี่ เปิดรับลมและชมวิวด้วยหน้าต่างกระจกบานกว้าง ในสไตล์โมเดิร์นแห่งศตวรรษที่ 20





บ้านโทมัส เจฟเฟอร์สัน ประมาณปี ค.ศ. 1803 สไตล์นีโอคลาสสิก ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา รูปทรงและเครื่องประดับตกแต่งกอปรไปด้วยรายละเอียดของยุคคลาสสิก บ้านหลังนี้ท่านประธานาธิบดีเป็นผู้ออกแบบเอง





บ้านสไตล์วิคตอเรียนที่มิชิแกน ประดับประดาด้วยลวดลายต่างๆ อย่างฟู่ฟ่า ใช้กระเบื้องไม้เกล็ดปลาประดับที่มุมมุขหลังคาจั่ว เช่นเดียวกับที่โค้งช่องกุญแจที่ชั้นบน





ฟรานส์เวิร์ธ ที่อิลลินอยส์ (ค.ศ. 1951) โดย มิส แวน เดอ โรห์ สถาปนิกซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำสไตล์โมเดิร์นในสหรัฐ สร้างด้วยเหล็กและกระจก ซึ่งเป็นวัสดุใหม่แห่งศตวรรษที่ 20 กระจกบานกว้างเผยให้เห็นทิวทัศน์งดงามโดยรอบ ตัวบ้านยกลอยเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วม หลังคาแบนเป็นที่นิยมของทศวรรษนี้





บ้านทรงกระท่อมที่แคลิฟอร์เนีย สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1928 ผนังพอกปูนแบบหยาบๆ รับกับประตูไม้ ทำให้กระท่อมดูมีเสน่ห์แบบชนบท หน้าต่างทรงฝรั่งเศสรับกันอย่างเหมาะเจาะ





สไตล์คันทรี่ ที่แคลิฟอร์เนีย เรียบง่ายในสไตล์วิคตอเรียนตอนต้น ในรูปแบบที่ปราศจากการประดับด้วยลดลายไม้ฉลุมุขทางเข้าเล็กๆ อย่างบ้านทรงกระท่อม





ดักกลาส เฮาส์ (Douglas House, 1971-1973) โดยริชาร์ด ไมเออร์ (Richard Mier) สไตล์โมเดิร์น จะเน้นการใช้วัสดุตรงไปตรงมา สไตล์บ้านจะปราศจากลวดลายเครื่องประดับต่างๆ อย่างที่เคยใช้กันมาตั้งแต่ศตวรรษก่อนๆ ที่ผ่านมา อาคารจะเน้นความเรียบสะอาดตา





เรียบง่ายสไตล์ ฮาวาย เน้นความโล่งสบายมุขททางเข้าบ้านที่ดูรื่นรมย์รับกับสวนภายนอกระเบียงรับลม เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของบ้านฮาวาย นอกเหนือจากเสียงคลื่นและสายลมที่น่าพิศมัย

โดย: เจ้าบ้าน [23 ก.ค. 47 5:29] ( IP A:203.152.36.68 X: )




จีน
บ้านในประเทศจีน ซึ่งอยู่ในเขตอบอุ่นเช่นเดียวกัน และเรียกกันว่าดินแดนซีกโลกตะวันออก บ้านจีนมีรากฐานวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการมานับพันปี สไตล์ของบ้านเป็นแบบจารีตนิยม เนื่องจากระบบการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ปิดกั้นอารยธรรมจากซีกโลกตะวันตก รูปแบบบ้านจึงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก นอกจากช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ารุกรานจีน ซึ่งมีการผสานทางวัฒนธรรมบ้าง แต่รูปแบบของบ้านก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปบงชัดเจนจนกระทั่งปัจจุบันค่ะ

ญี่ปุ่น
บ้านในประเทศญี่ปุ่น สไตล์ของบ้านเป็นแบบจารีตนิยม เนื่องจากวัฒนธรรมและลักษณะชาตินิยมของคนในประเทศ ทำให้บ้านสไตล์ญี่ปุ่นดำรงเอกลักษณ์ของตนไว้ได้อย่างยาวนาน และยังเผยแพร่ไปในบางประเทศที่มีชาวญี่ปุ่นเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่ไม่มากนัก หลังสงครามโลกครั้งที่สอง บ้านสไตล์ญี่ปุ่นก็ต้องผสานเข้ากับวัฒนธรรมของตะวันตก และเกิดเป็นบ้านสไตล์สากล (International Style) เช่นเดียวกัน

เขตภูมิอากาศร้อน-ชื้น
บ้านในเขตภูมิอากาศร้อน-ชื้น (Tropical climate) อย่างเช่น ไทย มาเลเซีย บาหลี บ้านในเขตนี้มีสไตล์เกิดขึ้นในยุคที่อังกฤษและฝรั่งเศสออกล่าอาณานิคม เช่นบ้านสไตล์โคโลเนียล จากนั้นความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและอารยธรรมจากซีกโลกตะวันตกได้แพร่เข้า มา ทำให้เกิดบ้านสไตล์สากล (International Style) อย่างปัจจุบัน

ตัวอย่างแบบบ้าน Asian Style (คลิกที่ภาพเพื่อดูรายละเอียด)
โดย: เจ้าบ้าน [23 ก.ค. 47 5:31] ( IP A:203.152.36.68 X: )


พระราชวังฤดูร้อนประเทศจีน สะท้อนอารยธรรมเก่าแก่ที่รุ่งเรืองมากว่าพันปี





บ้านไทยร่วมสมัย รักษาเอกลักษณ์ด้วยหลังคาจั่วสูง และปั้นลมที่อ่อนช้อย ชายคายาวให้ร่มเงากับผนัง และช่องหน้าต่างสูงเพื่อรับลม ระเบียงไม้ริมน้ำช่วยรับลมเข้าสู่ตัวบ้าน





หลังคาทรงไทย และชานบ้านสำหรับรับแขกผู้มาเยือน และใช้เป็นที่นั่งเล่นพักผ่อน เป็นเอกลักษณ์ที่ยังคงอยู่จนทุกวันนี้ ดังคำพูดที่ว่า ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ





บ้านญี่ปุ่นแบบจารีตนิยมในชนบท ตั้งอยู่ใกล้นครเกียวโตและนารา ใช้ใบจากมุงบนยอดหลังคา สร้างในราวศตวรรษที่ 18





บ้านญี่ปุ่นแบบจารีตนิยมในชนบท ตั้งอยู่ใกล้นครเกียวโตและนารา ใช้ใบจากมุงบนยอดหลังคา สร้างในราวศตวรรษที่ 18





บ้านญี่ปุ่น โครงสร้างไม้ต่อเนื่อง หลังคาชันเล็กน้อย มุงด้วยกระเบื้องลอนอย่างญี่ปุ่น จากระเบียงสามารถมองเห็นส่วนที่งดงามได้ บ้านหลังนี้สร้างเมื่อ ค.ศ. 1835 ตั้งอยู่นอกนครเกียวโต และได้รับการอนุรักษ์เป็นอาคารประวัติศาสตร์





บ้านญี่ปุ่น โครงสร้างไม้ต่อเนื่อง หลังคาชันเล็กน้อย มุงด้วยกระเบื้องลอนอย่างญี่ปุ่น จากระเบียงสามารถมองเห็นส่วนที่งดงามได้ บ้านหลังนี้สร้างเมื่อ ค.ศ. 1835 ตั้งอยู่นอกนครเกียวโต และได้รับการอนุรักษ์เป็นอาคารประวัติศาสตร์





บ้านหลังคาซ้อนอย่างสถาปัตยกรรมพม่า ที่ปาร์คนายเลิศ เพื่อให้ระบายความร้อนออกตอนบนหลังคา แวดล้อมด้วยสวนพรรณไม้ร่มรื่น ทำให้คฤหาสต์ทั้งหลังเย็นสบาย





โรงละครขนาดใหญ่ The Great Stage ประเทศจีน สำหรับให้พระนางซูสีไทเฮาทอดพระเนตร ลักษณะหลังคาแบบจีนมุงด้วยกระเบื้องลอนกาบกล้วย ที่มุมอาคารทำปลายให้โค้งงอนขึ้นเป็นอิทธิพลหนึ่งที่แพร่มาสู่เมืองไทย ลวดลายประดับไม้ฉลุที่ประตูและหน้าต่างเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจีน ซึ่งยังคงปรากฏอยู่จนทุกวันนี้





0 comments:

Post a Comment